วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

30 September 2013

ครั้งที่ 15


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


- อาจารย์ให้ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์เข้ามุม และของเล่นวิทยาศาสตร์เดี่ยว และได้แนะนำว่าของใครควรเพิ่มเติมตรงไหน มีจุดบกพร่องอย่างไร





- อาจารย์พูดถึงวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการ


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)
                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน
                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล  ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  สามารถแก้ปัญหาได้  และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา  การพัฒนาทางสติปัญญา  ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว  แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน  2  ประการ  คือ
                1.  ศักยภาพทางปัญญา  คือ การสังเกต  การคิด  การแก้ปัญหา  การปรับตัว  และการใช้ภาษา
                2.  พุทธิปัญญา  คือ  ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้  การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น
          การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา  และพุทธิปัญญา  จากการทำกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์  สิ่งที่เด็กได้จากกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมีอย่างน้อย  4  ประการ  คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

สรุปงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


ปริญญานิพนธ์ ของ เอราวรรณ ศรีจักร


 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 



    การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุjงหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทันทีที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชดแบบฝึกทักษะ กลุ่มัตวอย่างที่ใช้ ในการศึกษา
เป็นเด็กนักเรียน ชาย - หญิงอายุ 4 - 5 ปี กาลังศึกษาอย่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่
2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จํานวน 15 คน  เพื่อให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ แผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ และแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบบเท่าากับ .77 ใช้แบบแผนการวิจัย แบบ One - Group Pretest - Posttest Design และ
วิเคราะหข้อมูลโดยใช้สถติ t - test Dependent 
  ผลการศกษาพบว่า
การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และจําแนกรายทักษะมีค่าเฉลยคะแนนสูงขึ้นทุกทักษะ
ทักษะ อยในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสงเกต  ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น
และอยู่ในระดบดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภท เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการ

ทดลอง พบ่าว แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิตที่ระดับ .01 





คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างแผนการสอน



คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล

          การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่กําหนดหัวเรื่องการเรียนตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการ
เรียนรู้ (Brain - Based Learning)  ซึ่งวิธีการสอนเน้นผ้เรียนเป็นสําคญั ผูู้เรียนกระทำด้วยความคิด
การแสดงออกอย่างมีเหตุมีผล ตามมโนทศน์ของเรื่องทเรี่ยน และทําชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตรื
ทุกครั้งในการเรียนรโดยมีเจตนาเพื่อใช้ในการทบทวน ฝึกการขีดเขยนจากการสังเกต การจําแนก
ประเภท การสื่อสาร และการลงความเห็น ซึ่งตรงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวยและเป็นการส่งเสริมการทางานของสมองซีกซ้าย และซีกขวาของผู้เรียนให้ทำงาน
สัมพันธ์กันอย่างมีคุณภาพ ซึ่งส่งผลทําให้เป็นผู้มีความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์มีทักษะใน
การแก้ปัญหาต่างๆ สามารถพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และผู้อื่นได้ดีทั้งนี้
ครูมีบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุุ่น เพลิดเพลิน
แสดงการยอมรับในความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียน พร้อมชี้แนะ และเสริมข้อความรู้
ที่ผู้เรียนค้นพบจากชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์และรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ให้เกิดกับเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมาย

เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

หลักการจัดกิจกรรม

1. กิจกรรมนี้จัดในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
 2. การปฏิบัตกิจกรรมดําเนินตามลําดับขนตอนดังนี้

 2.1 ขั้นนํา

เตรียมเด็กนักเรียนให้พร้อมเรียนโดยจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การสนทนา เล่านิทาน ร้องเพลง ปริศนาคําทาย เพื่อนําเข้าสู่บทเรียน ครูบอกจุดมุ่งหมายการเรียน

 2.2 ขั้นสอน แบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 ครูดาเนินกิจกรรมการสอน โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมที่เน้นการกระทําด้วยความคิด การแสดงออก เรียนรูู้แบบรวมมือ เรียนรู้ด้วยการค้นพบ และทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งในการเรียนรู้แต่ละเรื่องเด็กจะได้เข้าร่วมกิจกรรม
การนําเสนอผลงาน การประเมินการเรียนรู้ร่วมกับครูโดยครูเป็นผู้ประเมินหรือตั้งคำถามให้เด็ก
ประเมินตนเองและเพื่อน
ตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทศน์ของเรื่องที่เรียน

 2.3 ขั้นสรุป

เด็กและครูร่วมกันสรุปมโนทัศน์เรื่องที่เรียนหรือนําเสนอผลงานในแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ตอบคําถาม สาธิต หรือเสนอผลงาน

บทบาทครู

1. การสร้างแผนกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

 1.1 ศึกษาชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้(Brain - Based Learning)
 1.2 ศึกษาหลักสูตรตร พุทธศักราช 2546 และแผนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ                   วิทยาศาสตร์
 1.3 กําหนดหัวเรื่องตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียนในแต่ละหน้าของชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
 1.4 เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

2. การนําแผนไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

 2.1 ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนลงมือจัดกิจกรรม
 2.2 จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมให้พร้อม
 2.3 เตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้วยกิจกรรมที่ครูเลือกสรรเพื่อนําเข้าสู่เรื่องที่เรียน
 2.4 บอกจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการสอน
 2.5 ดําเนินกิจกรรมการสอนตามแผนการสอน ซึ่งขณะดําเนินกิจกรรมครูต้องประเมินการเรียนการสอนตลอดเวลาว่ากิจกรรมนั้นกระตุ้นให้คิดหรือไม่ ผู้เรียนได้แสดงออกจริงไหม  เรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือไม่ เด็กเรียนอะไรเพิ่มเติม
 2.6 ผูุ้เรียนนําเสนอผลงาน โดยครูวิเคราะห์ผลงานและป้อนข้อมูลกลับให้ผู้เรียน ข้อผิดข้อถูกและข้อความรู้เพิ่มเติม โดยบรรยากาศการเรียนต้องมีความเป็นกันเอง หลีกเลี่ยงการพูดหรือการกระทําที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความคับข้องใจหรืออาย  ครูต้องตระหนักในความแตกต่างของผู้เรียน พร้อมแสดงการยอมรับช่วยชี้แนะและเสริมข้อความรู้ที่ทําให้ผู้เรียนค้นพบและเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด
 2.7 จูงใจให้ผู้เรียนสนใจกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ต้องทําให้ผู้เรียนเห็นว่าครูใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเสมอ พร้อมชี้แนะสิ่งที่นําไปสู่การเรียนรตามจุดประสงค์
 2.8 ใกลชิดกับผู้เรียน ติดตามการเรียนรู้เข้าร่วมในการทํางานกับผู้เรียนด้วยการแจกอุปกรณ์ด้วยตนเอง 2.9 สรุปมโนทัศน์เรื่องที่เรียน
 2.10 ให้เด็กทําแบบฝึกทกษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
 2.11 เริ่มการสอนตรงตามเวลาและมีการยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของแต่ละกิจกรรม


บทบาทเด็ก

1. ปฏิบัติการคิดและการแสดงออกด้วยตนเองและร่วมกับกลุ่มในการทํากิจกรรมทุกครั้ง
2. ทําแบบฝึกทักษะ
3. นําเสนอผลงาน
4. ประเมินการเรียนรูู้ร่วมกบครู

แผนผังมโนทัศน์

สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

   สาระที่ควรเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3 - 5 ปีตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546 หมวดธรรมชาติรอบตัว กล่าวคือ เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ
ในการศึกษาครั้งนี้ ผูู้วิจัยวิเคราะห์และกําหนดหัวข้อตามชุดแบบฝึกทักษะสําหรับการพัฒนาทักษะ         กระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนประกอบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะ     สําหรับเด็กปฐมวัยอายุ 4 - 5 ปี ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลธนินทร  เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2 ตามความเหมาะสมกับวัย จัดระบบความยาก - ง่าย    เด็กเกิดการเรียนรูู้จากการเชื่อมโยงจากประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด้ก จัดทําแผนมโนทัศน์ดังนี้





23 September 2013

ครั้งที่ 14


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


ครูเบียร์ให้ทำ Cooking ต่อจากอาทิตย์ที่แล้วที่เราเลือกจะทำ "แกงจืดแฟนซี" 









16 September 2013

ครั้งที่ 14


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


ครูเบียร์สอนทำ cooking โดยแบ่งกลุ่ม และแจกแผ่นชาร์ปกลุ่มละ 4 แผ่น

แผ่นที่ 1 ให้ความหมายของคำว่า cooking แล้วสรุปออกมา ได้ดังนี้





แผ่นที่ 2. เลือกเมนูอาหารที่สนใจ และอยากทำให้เด็กๆรับประทาน กลุ่มของดิฉันเลือก "ราดหน้า"





แผ่นที่ 3 เป็นวิธีการทำราดหน้า






แผ่นที่ 4 ทำแผนการสอนเรื่อง "มาทำราดหน้ากันเถอะ"

วัตถุประสงค์
ประสบการณ์สำคัญ
สาระการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.เพื่อให้เด็กบอกขั้นตอนการทำราดหน้า2.เพื่อให้เด็กบอกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบ
1.รู้จักสังเกตสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการทำราดหน้า
2.รู้จักปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อเกิดความปลอดภัย
1.การสังเกต
2.การเปรียบเทียบ
3.การจำแนก
1.ขั้นนำ
คุณครูนำเข้ากิจกรรมโดยใช้คำถาม เช่น เด็กๆเคยทานอาหารอะไรบ้าง  เด็กๆคนไหนเคยช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำอาหารบ้างคะ
2.ขั้นสอน
1. คุณครูเตรียมอุปกรณ์และคุณครูถามเด็กเกี่ยวกีบอุปกรณ์ที่คุณครูเตรียมมา
2. คุณครูให้เด็กๆสังเกตวัตถุดิบก่อนที่จะทำการประกอบอาหาร เปรียบเทียบผักแต่ละชนิดว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
3. คุณครูให้เด็กๆจำแนกอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน
4. คุณครูและเด็กๆร่วมกันปรุงอาหาร
3.ขั้นสรุป
1. คุณครูถามคำถามเกี่ยวกับอาหารที่เด็กๆได้ทำ
2. คุณครูและเด็กๆร่วมกันทำความสะอาดอุปกรณ์

        นพมาศ  วันดี

สื่อ
การประเมิน
การบรูณาการ
1.อุปกรณ์เครื่องครัว
2. วัสดุในการประกอบอาหาร
1.สังเกตการบอกถึงขั้นตอนการปรุงราดหน้าของเด็ก
2.สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบในระหว่างทำและเมื่อทำราดหน้าเสร็จ

1.ภาษาไทย
คือ การฟัง การพูด
2.คณิตศาสตร์
คือ การเปรียบเทียบ การสังเกต การจำแนก
 นพมาศ วันดี



การทำแผน Cooking ของกลุ่มเพื่อนๆ





วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

15 September 2013

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



เรียนชดเชยวันจันทร์ที่  9  กันยายน  พ.ศ. 2556 ที่ไม่มีการเรียนการสอน

- เพื่อนๆ นำเสนองานที่ยังไม่ได้นำเสนอ

นำเสนอสื่อเข้ามุม



กลุ่ม 1 ภาพสองมิติ



กลุ่ม 2 นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก


กลุ่ม 3 กล่องสีน่าค้นหา


กลุ่ม 4 รถลงหลุม


กลุ่ม 5 ลิงห้อยโหน


กลุ่ม 6 เวทีซูโม่กระดาษ


กลุ่ม 7 กระดาษเปลี่ยนสี


กลุ่ม 8 การเจริญเติบโตของสัตว์






นำเสนอของเล่น

  1. กระดาษเกิดเสียง
  2. กระป๋องผิวปาก
  3. กรวยลูกโป่ง
  4. ภาพลวงตา
  5. ตุ๊กตาล้มลุก
  6. กิ้งก่าไต่เชือก
  7. กระป๋องบูมเมอแรง
 

 



นำเสนอการทดลอง

กลุ่ม 1 กาลักน้ำ


กลุ่ม 2 ยกข้าวด้วยตะเกียบอันเดียว



กลุ่ม 3 ดอกไม้บาน







9 September 2013

ครั้งที่  13



Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ  แต่อาจารย์ได้มีการนัดหมายให้เรียนชดเชยในวันที่ 15 กันยายน  พ.ศ 2556 โดยให้นำเสนอสิ่งที่ยังไม่นำเสนอทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นของเล่น การทดลอง และสื่อเข้ามุม






ความรู้เพิ่มเติม

สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอนุบาล เริ่มอย่างไรดี

5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล



วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่

แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
 
ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


ที่มา.http://www.wattanasatitschool.com


วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

2 September 2013

คร้งที่ 12

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.




- อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุม  กลุ่มดิฉัน มีสมาชิกกลุ่ม  ดังต่อไปนี้

1.  นางสาวกรรจิรา   สึกขุนทด
2.  นางสาวณัฐวดี    ขำสม
3.  นางสาวบงกช     รัศมีธนาวงศ์
4.  นางสาวนพมาศ  วันดี


ทำสื่อเข้ามุม ชื่อว่า "เขาวงกต"






หลักวิทยาศาสตร์ แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้






กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง






กลุ่ม 2 กล่องนำแสง





กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก




กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง




กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่




กลุ่ม 6 เขาวงกต