วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

8 July 2013

ครั้งที่ 4




Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.




- อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 2 แผ่น ให้ทำสมุดเล่มเล็กหนึ่งเล่ม








ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)





     หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้น   ขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎี ดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์         เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
        อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น  ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา
- อาจารย์ได้สาธิตของเล่นวิทยาศาสตร์ให้ดูคือ

        1. เจาะรูใต้ขวดน้ำ 1 รู เอาน้ำใส่จะพบว่าน้ำไหลเพราะเกิดการรั่วที่รูเจาะเอาไว้


        2. ใช้ฝาปิดขวดน้ำใบเดิม จะพบว่า น้ำไม่เกิดการไหลตามรูรั่ว เพราะ อากาศเข้าไปแทนที่





- อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกไปนำเสนองาน " ของเล่นวิทยาศาสตร์ "

ได้นำเสนอ"กังหันหมุนมือ" แต่ซ้ำกับเพื่อน



อุปกรณ์

1 ไม้เสียบลูกชิ้น
2  ไม้ไอศกรีม
3  หลอดชาไข่มุก
4  กาว
5  ด้าย
6  กรรไกร

วิธีทำ

1  เจาะรูที่ไม้ไอศกรีมตรงกลาง และใช้ไม้เสียบลูกชิ้นเสียบเข้าไปในรูตรงกลางของไม้ไอศรีม จากนั้นหยอดกาวลงไปนิดหนึ่ง
2  หลังจากรอกาวแห้ง เราได้แกนใบพัดแล้ว  เราก็ใช้กรรไกรเจาะรูที่หลอดชาไข่มุกเพื่อที่จะสอดได้เข้าไป
3  ตัดหลอดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วมัดกับด้าย นำด้ายอีกด้ายสอดเข้าไปในรูหลอดชาไข่มุก แล้วเอาไปมัดกับแกนของใบพัด
4  จากนั้นเราก็นำแกนใบพัดสอดเข้าไปที่หลอดชาไข่มุก

วิธีการเล่น

  เราก็จะหมุนใบพัด ต้องพยายามหมุนให้ได้มันเรียงกันเป็นระเบียบ  จากนั้นก็ดึง  ใบพัดก็จะหมุน

หลักวิทยาศาสตร์

เมื่อเราหมุดเชือกนั้นจะเกิดการสะสมของพลังงานศักย์  และเมื่อเราดึงเชือก จากพลังงานศักย์ก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ในการทำให้ใบพัดหมุน








วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1 July 2013

ครั้งที่ 3


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



อาจารย์ให้เพื่อนช่วยกันระดมความคืดในหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ ให้ออกมาเป็น mindmapping ดังรูป




อาจารย์ให้ดูของเล่นที่เป็นเหมือนกล้อง เวลามองเข้าไป วัตถุก็จะตกลงมาใกล้ตาเรา

จากการที่ได้ดู VDO  "ความลับของแสง"

ที่เรามองเห็นวัตถุรอบๆตัวได้  นอกจากแสงจะโดนวัตถุแล้ว  ต้องมีแสงสะท้อนมาที่ตาของเราด้วย  ตัวของเรานั้นเป็นวัตถุทึบแสง 
วัตถุมี 3 ชนิด 
- วัตถุโปรงแสง
- วัตถุโปรงใส
- วัตถุทึบแสง


การหักเหของแสง

     แสงเมื่อเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางโปร่งใสและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน  ความเร็วในการเดินทางของแสงจะเปลี่ยนไป  เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ  ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปหาตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยแสงจะหักเหออกจาเส้นปกติ  ดังนั้นแสงเมื่อเดินทางในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก  ความเร็วของแสงจะลดลง  จึงทำให้ลำแสงเบนไปจากแนวเดิม  เรียกว่า  แสงเกิดการหักเห  



การทดลองการหักเหของแสง



นำไฟฉายส่องลงไปในนำ




ความรู้ที่ได้รับ

1.ช่วยในการมองเห็นสิ่งต่างๆ             
2.ช่วยทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ
3.ช่วยให้เกิดกระแสไฟฟ้าจากโซลาเซลล์หรือเซลล์สุริยะ
4.ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ต่างๆ
5.ทำให้มีการประดิษฐ์สิ่งที่ใช้เกี่ยวกับแสง ได้แก่ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ กล้องดูดาว กล้องดูแห่ กล้องสองตา และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับการมองเห็น ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมากมาย

การประยุกต์ใช้

สามารถนำเรื่องแสงไปปรับใช้สอนเด็กปฐมวัยโดยอาจจะเป็น การเล่นของเล่นง่ายๆที่เป็นของเล่นเกี่ยวกับแสง  การทดลองง่ายๆเรื่องแสง