วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

19 August 2013

ครั้งที่ 10

 

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้นดังนี้
  1. การตั้งสมมุติฐาน
  2. การทดลอง
  3. การวิเคราะห์ข้อมูล
  4. การสรุป


           - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน การทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้กลุ่มละ 3 คน       กลุ่มดิฉันมีดังนี้  นางสาวกรรจิรา สึกขุนทด และดิฉัน นางสาวนพมาศ  วันดี

ทดลอง เรื่อง "ลาวา"




อุปกรณ์

1.  อะมิโน
2.  น้ำเปล่า
3.  สีผสมอาหาร
4.  ขวดพลาสติกใส
5.  น้ำมันพืช

วิธีการทดลอง

1. นำน้ำเทใส่ขวดประมาณ  เศษ 3 ส่วน 4 ของขวด  และใส่น้ำมั้น  จะเห็นว่าน้ำและน้ำมันแยกชั้นกันอย่างชัดเจน
2. ใส่สีผสมสีผสมอาหาร  รอให้สีผสมอาหารผสมกับน้ำ และใส่ผงอะมิโนลงไป  สังเกตผลการทดลอง
3. จะเกิดลาวาคล้ายกับที่เกิดในภูเขาไฟ

หลักวิทยาศาสตร์

เมื่อเราเทน้ำและน้ำมันลงในขวดนั้นน้ำและน้ำมันจะแยกชั้นกัน  เมื่อใส่ผงอะมิโนลงไป  ผงอะมิโนจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์  ในส่วนที่เป็นชั้นของน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ก็จะดันน้ำขึ้นมาเจอกับชั้นของน้ำมัน  และสักพักหนึ่งแรงดันของน้ำก็หมดลง  ทำให้น้ำไหลกลับไปอยู่ที่เดิม


การนำเสนอ

1. คุณครูนำอุปกรณ์การทดลองวางไว้บนโต๊ะ  และถามเด็กๆว่าเด็กๆเห็นอะไรบ้างบนโต๊ะของคุณครู และเคยเห็นที่ไหน คะ


2. วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆนะคะทำการทดลอง แต่คุณครูไม่บอกว่าเป็นการทดลองอะไร จะคอยให้เด็กสังเกตเอง และเริ่มทำการทดลอง โดยการเทน้ำลงไป เศษ 3 ส่วน 4 ขวด และเทน้ำมันลงไป ถามเด็กๆว่า เด็กๆเห็นอะไรในขวดน้ำบ้างคะ



3. คุรครูชุสีผสมอาหารขึ้นมา และถามเด็กๆว่าเคยเห็นสีผสมอาหารไหม  และสีผสมอาหารนี้ใช้ทำอะไรได้บ้าง  หลังจากนั้นคุณครูก็เทสีผสมอาหารลงในขวด  และคอยให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีน้ำ



4. คุณครูชูซองอะมิโนขึ้นมา และถามเด็กๆว่าใครเคยเห็นบ้างคะ  แล้วคุณครูก็อธิบายเพิ่มเติมว่าอะมิโนนั้นใช้ชงกับน้ำ  รับประทานเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหารเวลาที่เรารู้สึกว่ารับประทานอาหารมากไป 


5. หลังจากนั้นก็เทผงอะมิโนลงขวดน้ำ และให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายในขวด






6. เมื่อเราเทน้ำและน้ำมันลงในขวดนั้นน้ำและน้ำมันจะแยกชั้นกัน  เมื่อใส่ผงอะมิโนลงไป  ผงอะมิโนจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์  ในส่วนที่เป็นชั้นของน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ก็จะดันน้ำขึ้นมาเจอกับชั้นของน้ำมัน  และสักพักหนึ่งแรงดันของน้ำก็หมดลง  ทำให้น้ำไหลกลับไปอยู่ที่เดิม





การทดลองของเพื่อนๆ










วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

17 August 2013

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



เรียนชดเชย

  - อาจารย์ให้เพื่อนแต่ละคนออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ตนได้นำเสนอไปเมื่อวันจันทร์ ที่ 15 กรกฏาคม 2556


ดิฉันได้นำเสนอเรื่อง  "กลองแขกใบจิ๋ว"



อุปกรณ์







1  ถ้วยมาม่ากึ่งสำเร็จรูป 2 ถ้วย 
2  ลูกโป่ง 2 ใบ
3  กระดาษสี
4  กาว
5  กรรไกร

วิธีทำ 


1. ตัดก้นลูกโป่งทั้ง 2 ใบ แล้วนำมาดึงให้ตึง ขึงที่ปากถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 2 ถ้วย




 





2. ขึงที่ปากถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 2 ถ้วย



 


3. นำกระดาษสีมาตกแต่งเป็นลวดลายให้ดูเหมือนกลองให้มากยิ่งขึ้น เพื่อความสวยงาม




   



4. เมื่อนำกระดาษสีตกแต่งเรียบร้อยแล้ว  ก็นำส่วนก้นมาประกบกัน 







5. ตกแต่งลายกลองให้สวยงาม  จะได้ กลองแขกใบจิ๋ว 







วิธีเล่น

ดึงที่หนังบูกโป่งก็จะเกิดเสียงขึ้นมา

หลักการวิทยาศาสตร์

เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง 





ออกไปนำเสนอหน้าห้อง





เพื่อนๆนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์






12 August 2013

ครั้งที่ 9


Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


เนื่องในวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่  มหาวิทยาลัยราชภัฎจันเกษมจึงมีการหยุดการเรียนการสอน








     วันแม่แห่งชาติในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม

   
    สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย

ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ



       งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน


       ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา



ของขวัญจากลูก
สัจจาภรณ์ ไวจรรยา poohkan(ผู้แต่ง กลอนวันแม่)
มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก
กรุ่นกลิ่น "รัก" บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ
เป็นมาลัย "กราบแม่" พร้อมน้อมบูชา
กี่พระคุณจากใครอื่นนับหมื่นแสน
อาจทนแทนเปรยเปรียบเทียบคุณค่า
แต่พระคุณ"หนึ่งหยดน้ำนมมารดา"ทั้งสามภพจบหล้า...หาเทียมทัน
ลูกไม่อาจเอ่ยแสดงแถลงถ้อย
หรือเรียงร้อยพจนามาเสกสรรค์
เพื่อบรรยายพระคุณนี้ที่ "อนันต์"
จึงตั้งมั่น "กตัญญุตา" ตลอดไป
หนึ่งคำ "รัก" ลูกรักแม่ แม้ค่าน้อย
ต่างเพชรพลอย ตีราคาค่ามิได้
แต่แม่จ๋า... "รักที่หนึ่ง" ของหัวใจ
มิใช่ใคร "ลูก รัก แม่" แน่นิรันดร์

เพลงที่ใช้ในวันเเม่



ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันแม่แห่งชาตฺิเเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน


เพลงค่าน้ำนม 
                                แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล                                                                       
 แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนมเลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย 





5 August 2013

ครั้งที่ 8

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.



เป็นช่วงสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม




29 July 2013

ครั้งที่ 7

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.




อาจารย์ให้หยุดอ่านหนังสือสอบกลางภาคซึ่งจะสอบในวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 - 5 สิงหาคม 2556








ความรู้เพิ่มเติม

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ? : นิตยสาร สสวท

วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ


“หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย




หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
 
          นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (สสวท.)  ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546  และต่อเนื่องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
 

 
          อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต  หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้  กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู     พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
          สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศ เช่น หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา   หม่อมหลวงอนงค์ นิลอุบล   อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นนักการศึกษาด้านปฐมวัย แพทย์ นักจิตวิทยา และนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.  มาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ
และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550
 
          เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ โดยเชิญผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาค ส่วน ร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ในปี พ.ศ. 2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น    ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา  แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก  เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป”
          เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาเป็น 8 สาระ สสวท. จึงจัดทำมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยให้สอดคล้องกับทั้ง 8 สาระ    สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการ และสอดคล้องกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ
          ขณะนี้  สสวท. ได้ทำกรอบมาตรฐานหลักสูตรผ่านทุกกระบวนการที่สำคัญหมดแล้ว ก็คือผ่าน การประชาพิจารณ์ การนำไปทดลองใช้ การปรับแล้วนำไปทดลอง และวิจัยผลการใช้  ในส่วนของการทดลองใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย    สสวท. ได้เชิญชวนให้โรงเรียนต่าง ๆ อาสาสมัครมาเป็นโรงเรียนทดลองใช้กรอบมาตรฐานหลักสูตร ฯ   ได้โรงเรียนทั่วประเทศ 23 โรง  จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน  และทดลองใช้ในปี 2551 
 

          ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
          “เราได้ทดลองแล้ว พบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่า ในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน”  อ. ชุติมา กล่าวหลังจากนั้นได้จัดอบรมครูทั่วประเทศไปแล้วในปี พ.ศ. 2552   ที่อุดรธานี  เชียงใหม่ ภูเก็ต  และระยอง  ต่อจากนี้จะจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศเขตพื้นที่ละหนึ่งคน เพื่อที่จะให้ศึกษานิเทศก์ได้เป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ครู
          ส่วนการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยในอนาคต  หลังจากที่ สสวท. จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตรเสร็จแล้ว ก็คือการชักชวนพันธมิตร เช่น ภาควิชาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีอยู่ทั่วทุกประเทศ เป็นศูนย์การอบรมครูปฐมวัย  และในขณะเดียวกัน สสวท. และคณะที่เป็นนักการศึกษาปฐมวัยที่เป็นผู้เริ่มต้นโครงการนี้ก็จะถอยมาเป็นผู้อบรมวิทยากรอีกทีหนึ่ง
 
          “ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน  เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม  แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย”   อ. ชุติมากล่าวทิ้งท้าย



22 July 2013

ครั้งที่ 6

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.






 ประวัติวันอาสาฬหบูชา 
    วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
       1. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 รูป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
        2. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงได้พระสาวกองค์แรก คือ ท่านโกญฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรก
       3. เป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรก คือ พระอัญญาโกญฑัญญะ ภายหลังจากที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบท ยกขึ้นเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
        4. เป็นวันเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นพยานในการตรัสรู้ธรรม ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ครบถ้วนบริบูรณ์ คือ มิใช่เพียงแค่ตรัสรู้ธรรมเพียงพระองค์เดียวอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้า



ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชา 

    ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชานั้น เริ่มต้นจากในครั้งพุทธกาล หลังจากพระศาสดาตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน 6 แล้วทรงเสวยวิมุตติสุข คือ ความสุขจากการหลุดพ้นเป็นเวลา 7 สัปดาห์ หลังจากนั้นทรงพระปริวิตกว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก หมู่สัตว์ที่ยังมีกิเลสหนายากที่จะรู้เห็นตามได้ ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบความปริวิตกของพระองค์ จึงมาทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในจักษุน้อยยังมีอยู่

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ผู้ยังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในภพสาม จึงทรงตรวจดูหมู่สัตว์ด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่มีกิเลสน้อยก็มี มีกิเลสมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่สอนง่ายก็มี สอนยากก็มี เหมือนดอกบัวที่เกิดและเจริญเติบโตในน้ำ บางพวกก็อยู่ในน้ำลึก บางพวกก็อยู่เสมอน้ำ บางพวกก็พ้นจากน้ำแล้ว คือ บางจำพวกยังไม่พร้อมที่จะบาน บางจำพวกก็พร้อมที่จะบาน เช่นเดียวกันกับหมู่สัตว์ที่พอสอนได้ก็มีอยู่ จึงทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม
    เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมกลับไปสู่พรหมโลกแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำริว่า “เราจะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ใครจะพึงรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็ว” ทรงดำริต่อว่า “อาฬารดาบสและอุทกดาบส เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีกิเลสเบาบางมานาน หากได้ฟังธรรมก็จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมได้เร็ว เราควรแสดงธรรมแก่ท่านทั้งสองก่อน”  

  เทวดาตนหนึ่งทราบพระดำริของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงอันตรธานจากวิมานมากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดาบสทั้งสองนั้นได้สิ้นชีวิตแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูก็ทรงทราบว่า ดาบสทั้งสองนั้นสิ้นชีพแล้ว จึงทรงดำริว่า “พระดาบสทั้งสองเป็นผู้ประสบความเสื่อมอย่างใหญ่แล้ว เพราะถ้าเขาได้ฟังธรรมก็จะพึงรู้ได้ตลอดทั้งหมดโดยฉับพลัน” 

   ครั้นแล้ว จึงทรงดำริถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้มีอุปการะแก่พระองค์มาก ได้ตามมาอุปัฏฐากเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้ จึงเสด็จไปโปรด ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน





    ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงได้นัดหมายกันและกันว่า “ท่านทั้งหลาย พระสมณโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตร จีวร ของพระองค์ เพียงแต่วางอาสนะไว้ก็พอ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จะประทับนั่ง”
    ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปถึง ด้วยพุทธานุภาพจึงทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตร จีวร ของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งวางตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปัญจวัคคีย์จัดถวาย แล้วทรงล้างพระบาท หลังจากดูแลต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พวกปัญจวัคคีย์ได้เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยระบุพระนาม และใช้คำว่า “อาวุโส”
    เมื่อพวกปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสห้ามเหล่าปัญจวัคคีย์ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยระบุชื่อ และอย่าใช้คำว่า อาวุโส ดูก่อนท่านทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พวกท่านจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกท่านปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าก็จะทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เหล่าปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อาวุโสโคดม ที่ผ่านมานั้นท่านได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด แต่ก็ยังไม่อาจบรรลุธรรมอันประเสริฐ ก็บัดนี้ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เล่า”
    เมื่อพวกปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ดูก่อนท่านทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกท่านจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกท่านปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าก็จะทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์” พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้ถึง 3 ครั้ง แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสต่อไปอีกว่า “ดูก่อนท่านทั้งหลาย ถ้อยคำเช่นนี้เราไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน เราเพิ่งพูดในบัดนี้เท่านั้น” 

 พวกปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังถ้อยคำยืนยันอย่างหนักแน่น จึงยินยอมเชื่อฟังและตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ตรัสถึงข้อปฏิบัติ 2 อย่างที่บรรพชิตไม่พึงปฏิบัติ ได้แก่
      1. การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
      2. การทรมานตนเองให้ลำบาก สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
  และทรงยกย่องทางสายกลาง คือ ข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 และ อริยสัจ 4 จบพระธรรมเทศนา ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาปัตติผล เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ด้วยเหตุนี้เอง พระรัตนตรัยจึงได้บังเกิดขึ้นครบถ้วนเป็นครั้งแรก
 เมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว บรรดาเทวดาทั่วทุกชั้นฟ้าก็บันลือเสียง ตั้งแต่ภุมมเทวาไปจนถึงชั้นพรหมโลกต่างชื่นชมอนุโมทนา ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุได้ไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ก็สว่างรุ่งเรืองไปทั่ว เพราะอานุภาพของเหล่าเทวดา
    เมื่อเราได้ทราบประวัติความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชาแล้ว พวกเราชาวพุทธทุกคนจึงควรทำจิตให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย และตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในโดยเร็ว ประเพณีนิยมในวันอาสาฬหบูชา 


ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา 

     จากความสำคัญของวันอาสาฬหบูชาข้างต้นนี้ ทำให้ปู่ย่าตายายท่านจับหลักได้ว่า การเรียนสรรพวิชาใดๆ ก็ตาม ผู้ที่จะแตกฉานลึกซึ้งในความรู้นั้นได้ มีความจำเป็นต้องศึกษาแม่บทให้แตกฉานก่อน เช่น ถ้าเป็นวิชาคำนวณในทางโลกต้องใช้สูตรคูณเป็นแม่บท ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน การที่จะศึกษาธรรมะให้แตกฉาน ต้องศึกษาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นแม่บททางธรรม
  ปู่ย่าตายายท่านจับหลักตรงนี้ได้ เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ท่านจึงขวนขวายไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อเป็นการทบทวนแม่บทธรรมะทั้งหมดใน พระพุทธศาสนาให้เข้าใจและซาบซึ้งยิ่งขึ้น
     ข้อคิดที่ได้จากตรงนี้คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ทั้งที่เป็นประโยชน์ส่วนตัว และประโยชน์ของหมู่คณะ ทั้งหมู่คณะเล็ก เช่น ครอบครัว และหมู่คณะใหญ่ คือประเทศชาติ จะต้องมีหลักการที่ชัดเจน มีแม่บทที่ชัดเจน ที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม และหลักการนั้นจะต้องสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย อีกทั้งต้องถูกนำมาประพฤติปฏิบัติ จนกระทั่งหลักการที่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยประจำตัว นิสัยประจำชาติ จึงจะส่งผลให้ตนเอง หมู่คณะ และประเทศชาติเจริญขึ้น และสงบสุขอย่างยั่งยืน
     ในวันอาสาฬหบูชานี้ ชาวพุทธควรถือเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่จะพึงประกอบการบูชาทั้งส่วนอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา โดยเฉพาะการปฏิบัติบูชานั้น ควรปฏิบัติตนตามหลักธรรมในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติสายกลาง คือ อริยมรรค 8 กล่าว โดยสรุปก็คือ ควรปฏิบัติตนให้มีศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธองค์ ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง



15 July 2013

ครั้งที่ 5

Science Experience Management for Early Childhood

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.




   อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นวิทยาสาตร์และคนที่นำเสนอซ้ำกับเพื่อนอาทิตย์ที่แล้วให้ออกมานำเสนอ  ซึ่งอาทิตย์ที่แล้วได้นำเสนอซ้ำกับเเพื่อน อาทิตย์นี้เลยนำเสนอ"กลองแขกใบจิ๋ว"





อุปกรณ์

1  ถ้วยมาม่ากึ่งสำเร็จรูป 2 ถ้วย 
2  ลูกโป่ง 2 ใบ
3  กระดาษสี
4  กาว
5  กรรไกร

วิธีทำ 

1  นำก้นถ้วยมาม่ากึ่งสำเร็จรูปมาประกบกันและติดกาว
2  ตัดก้นลูกโป่ง และดึงให้ดึงใส่ที่ปากถ้วยมาม่ากึ่งสำเร็จรูปทั้ง 2 ด้าน
3  ตกแต่งกลองแขกใบจิ๋วให้สวยงาม โดยใช้กระดาษสี

วิธีเล่น

ดึงที่หนังบูกโป่งก็จะเกิดเสียงขึ้นมา

หลักการวิทยาศาสตร์

เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง